วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เรียนรู้ตลอดเวลา และต้องรู้มากกว่าคนอื่น



เรียนรู้ตลอดเวลา  และต้องรู้มากกว่าคนอื่น





"ถ้าผมเริ่มหยุดเรียนเมื่อไหร่ ผมก็จะไม่มีชีวิตอยู่อีกต่อไปแล้ว  การเรียนรู้  หมายถึง  การยอมรับความเสี่ยงโดยไม่ต้องกลัวเสียหน้า"
แจ็ค เวลช์ ผู้บริหารสูงสุุดบริษัท GE Electric


คนที่ประสบความสำเร็จในโลกนี้ทุกคนนั้น มีคุุณสมบัติพิเศษที่จะสร้างวิวัฒนาการและเปิดรับความรู้ใหม่ๆ แบบ 360 องศา  การแสวงหาแหล่งเรียนรู้ให้กับตัวเองอย่างไม่สิ้นสุด  และที่สำคัญมาก คือ ต้องรู้มากกว่าคนอื่น  เราถึงจะพบกับความสำเร็จที่เร็วและแรงได้  สำหรับความหมายจริงๆ  ของคำว่า "การเรียนรู้" มีนักจิตวิทยาได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้หลายท่าน ในที่่นี้จะสรุปพอเป็นแนวทางให้พอเข้าใจง่ายๆ คือ 

การเรียนรู้  หมายถึง  การที่มนุษย์ได้รับรู้ถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเขา  โดยเริ่มต้นตั้งแต่การมีปฏิสนธิอยู่ในท้องแม่เรื่อย  จนกระทั่งคลอดมาเป็นทารก  แล้วอยู่รอดมีชีวิต  ซึ่งเมื่อมีชีวิตรอดแล้ว  และเมื่อออกมาอยู่ภายนอกเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่รอด  ทั้งนี้ก็เพราะการเรียนรู้ทั้งสิ้น  การเรียนรู้มีความหมายลึกซึ้งมากกว่าการสั่งสอน  หรือการบอกเล่าให้เข้าใจและจำได้เท่านั้น  ไม่ใช่แค่เรื่องของการทำตามแบบหรือเลียนแบบ  ไม่ได้มีความหมายต่อการเรียนในวิชาต่างๆ เท่านั้นท  แต่ความหมายคลุมไปถึง  การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมอันเป็นผลจากการสังเกตพิจารณา  ไตรตรอง  แก้ปัญหาทั้งปวงและไม่ชี้ชัดว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปในทางที่สังคมยอมรับเท่านั้น

การเรียนรู้เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม  การเรียนรู้เป็นความเจริญงอกงาม  อยากเน้นว่า  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นการเรียนรู้  ต้องเนื่องมาจากประสบการณ์  หรือการฝึกหัด  และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นควรจะต้องมีดำรงอยู่เป็นการรับรู้ตลอดไป  เหมาะแก่เหตุเมื่อพฤติกรรมดั้งเดิมเปลี่ยนไปสู่พฤติกรรมที่มุ่งหวัง  ก็แสดงว่าเกิดการเรียนรู้แล้ว

มีนักจิตวิทยาการศึกษาของโลก  ได้มีการเปิดเผยทฤษฏีของการเรียนรู้  ซึ่งรู้จักกันดีในนาม  ทฤษฎีของ Bloom (Bloom's Taxonomy) เขาได้แบ่งการเรียนรู้ของคนเราทั่วไปนั้นเป็น 6 ระดับ  ที่คนรุ่นใหม่ควรให้ความสนใจมาก ๆ คือ

1. ความรู้ที่เกิดจากความจำ (Knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุุด  มันเป็นความรู้ที่เกิดจากการที่เขาเราได้เห็น  ได้สัมผัส  มันส่งผลให้เกิดความจำในเรื่องราวต่างๆ

2. ความเข้าใจ (Comprehend) มันเป็นเรื่องที่เหนือขึ้นไปอีกขั้นที่เรารู้ว่า นอกจากที่เราได้อ่าน  ได้สัมผัส  แล้วมันเกิดอะไรขึ้นตามมาเอง  เป็นความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ

3. การประยุกต์ (Application) เป็นการนำเรื่องราวต่างๆ ที่เข้าใจจมาเลือกแยกแยะออกมา  นำมาประสานกันให้เกิดประโยชน์ทางใดทางหนึ่ง

4. การวิเคราะห์ (Analysis) คือ  การสามารถแก้ปัญหา  ตรวจสอบในเรื่องต่างๆ ที่เรียนรู้มาได้

5. การสังเคราะห์ (Synthesis) สามารถนำส่วนต่าง ๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้  ให้แตกต่างจากรูปเดิม  เป็นรูปแบบใหม่

6. การประเมินค่า (Evaluation) วัดได้  และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด  ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด

สังเกตได้ว่าในสองข้อแรกนั้น  เป็นเรื่องปกติที่ทุกคนมีอยู่  แต่ 4 ข้อหลังเป็นต้นมานั้น  ตั้งแต่เรื่องของการประยุกต์  การวิเคราะห์  การสังเคราะห์  การประเมินค่านั้น  เป็นเรื่องที่จำเป็นมากกับแนวความคิดของคนรุ่นใหม่ที่จะใช้เป็นตัวผลักดันตัวเราเองให้ไปยืนอยู่แถวหน้าได้

การไปหาความรู้ที่เป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุดสำหรับคนที่อยากประสบความสำเร็จมากๆ ต้องมีเป็นอาวุธสำคัญ  ซึ่งในบทเรียนเรื่องของกลยุทธ์ในการทำงานสู่ความมั่งคั่งหรือความสำเร็จทั้งหลายนั้น  นักธุรกิจทั้งในระดับโลกนั้นต่างพูดต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า

"ถ้ามัวแต่คิดว่าตัวเองเก่ง  และนิ่งอยู่กับที่  ก็เหมือนกับแพ้แล้ว  เพราะเมื่อเราหยุดนิ่ง  ก็เหมือนกับการก้าวเดินถอยหลัง  ในขณะที่คนอื่นๆ เขากำลังก้าวไปข้างหน้า!!!!"


"มันอยู่ที่  การเรียนรู้ที่ไม่ยอมหยุดอยู่กับที่ทั้งสิ้น  
ต่อให้จินตนาการยิ่งใหญ่แค่ไหน  
ไม่มีความรู้ไม่มีความกล้าที่จะทำมันก็เป็นเพียงฝุ่นในสายลมก็เท่านั้นเอง...."



อ้างอิงจาก : หนังสือ 10 เหตุผลที่คนรุ่นใหม่ประสบความสำเร็จเร็วและแรง




บทความแรงบันดาลใจสู่อิสรภาพและร่ำรวยทางการเงินที่เกี่ยวข้อง :

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น